
สำหรับผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อส่วนบุคคล อายุงาน 4 เดือน เป็นไปได้หรือไม่
การที่คนเรามีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินก้อน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ก็เรียกได้ว่า เป็นความจำเป็นด้วยกันทั้งสิ้น เพราะต่างคนก็ต่างมีเหตุผลส่วนตัว ความจำเป็นส่วนตัวที่คนอื่นๆ อาจจะไม่เข้าใจก็เป็นได้ และความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินก้อนนั้น บางครั้ง มันก็เกิดขึ้นแบบกะทันหันโดยที่เราไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้เลย ซึ่งถ้าความจำเป็นที่ต้องใช้เงินก้อนนั้นมาเกิดขึ้นตอนที่เราพึ่งจะเปลี่ยนงานมาใหม่ๆ ทำงานที่ใหม่ได้แค่ 4 เดือนเอง เราจะไปขอสินเชื่อส่วนบุคคลจากใครได้เล่า จะมีใครให้เครดิตเราได้ไหม การจะขอทำบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดกับธนาคาร จะทำได้หรือไม่ มีที่ไหนพอจะอำนวยความสะดวกให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล อายุงาน 4 เดือน ได้บ้าง ก่อนที่จะไปดูว่า การขอสินเชื่อส่วนบุคคล อายุงาน 4 เดือน มีสถาบันการเงินใดให้บริการได้บ้าง ลองมาทำความรู้จักกับสินเชื่อส่วนบุคคลก่อนค่ะ
สินเชื่อส่วนบุคคล อายุงาน 4 เดือน คืออะไร
สินเชื่อส่วนบุคคล อายุงาน 4 เดือน คือ การขอสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีจำนวนเงินไม่มากนัก จัดอยู่ในประเภทสินเชื่ออเนกประสงค์ สามารถนำไปใช้ตามความจำเป็นของผู้ขอสินเชื่อได้ ไม่ระบุลักษณะการใช้ ซึ่งต่างจากสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อ SME ที่เป็นสินเชื่อแบบมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อส่วนบุคคล อายุงาน 4 เดือน เพื่อชำระหนี้ที่ค้างไว้ ใช้ต่อเติมบ้าน ใช้เพื่อการศึกษา ใช้เพื่อค่ารักษาพยาบาล ก็สามารถขอได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้ โดยทั่วๆ ไป สถาบันการเงินหรือธนาคารจะกำหนดวงเงินการขอสินเชื่อไว้สูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ ณ ขณะนั้น สามารถผ่อนชำระหนี้คืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยรวมกันได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยที่ผู้ขอสินเชื่อจะต้องมีอายุ 20 ปี ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 หรือ 65 ปี (ตามแต่สถาบันจะกำหนด) และมีรายได้รับเข้าผ่านบัญชีธนาคารอย่างสม่ำเสมอ เริ่มต้นที่ประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป (หรือตามแต่สถาบันการเงินจะกำหนดไว้ บางแห่งกำหนดรายได้เริ่มต้นไว้ที่ 20,000 บาท) มีอายุงาน 4 เดือนขึ้นไป และที่สำคัญคือต้องไม่เป็นบุคคลผู้เคยมีหนี้เสียหรือติดเครดิตบูโรมาก่อน หากมีคุณสมบัติครบถ้วน การขอสินเชื่อส่วนบุคคล อายุงาน 4 เดือน ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
กู้เงินด่วนในจังหวัดของคุณ
รูปแบบการขอสินเชื่อส่วนบุคคล อายุงาน 4 เดือน
- สินเชื่อส่วนบุคคลแบบเงินก้อน ที่ผู้ขอจะได้รับเงินก้อนตามที่ได้รับการอนุมัติโอนเข้าบัญชีธนาคารที่แจ้งไว้ แล้วผู้ขอสินเชื่อจะแบ่งใช้หรือนำมาใช้ทั้งก้อนนั้นก็สามารถบริหารได้ด้วยตัวเอง โดยมีอัตราดอกเบี้ย 28% ต่อปี การคิดดอกเบี้ยจะทำการคิดตั้งแต่วันที่ได้รับเงินอนุมัติโอนเข้าบัญชีทั้งหมด ฉะนั้น ท่านควรขอสินเชื่อส่วนบุคคลแบบเงินก้อนเท่าที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น และจะต้องชำระหนี้สินเชื่อก้อนเดิมให้หมดเสียก่อน จึงจะขอสินเชื่อครั้งใหม่ได้
- สินเชื่อส่วนบุคคลแบบบัตรกดเงินสด ที่สามารถกดเงินสดได้แบบไม่เกินวงเงินที่ธนาคารกำหนดไว้ ข้อดีคือ สามารถกดเงินสดมาใช้ได้ตามจำนวนมาก-น้อยตามความจำเป็นที่จะต้องใช้ เมื่อไรก็ได้ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการกด โดยการกดเงินสดนี้ จะต้องชำระเงินคืนตามรอบบิลที่มีการแจ้งหนี้ การคิดดอกเบี้ยจะเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่กดเงินสดนั้นไปใช้ ซึ่งการคิดดอกเบี้ยของบัตรกดเงินสดนั้นจะสูงกว่าการขอสินเชื่อส่วนบุคคลแบบอื่นๆ เลย
- สินเชื่อส่วนบุคคลแบบบัตรเครดิต ที่สามารถใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดได้เลย หลายๆ คนคงชอบเพราะได้สะสมแต้มเพื่อแลกของรางวัลหรือนำมาใช้ลดราคาสินค้าได้ ข้อดีคือ ท่านไม่ต้องพกเงินสดให้ยุ่งยาก มีช่วงพักการคิดดอกเบี้ยประมาณ 40 - 45 วัน ที่ควรระวังคือ ต้องชำระเงินคืนภายในวันที่กำหนดไว้ในแต่ละรอบบิล เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระดอกเบี้ยที่อัตรา 18% ต่อปี
สถาบันการเงิน หรือธนาคารใด ที่ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล อายุงาน 4 เดือน บ้าง
ตัวอย่างสถาบันการเงิน ธนาคาร ที่ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล อายุงาน 4 เดือน ที่มีให้บริการทั้งแบบการขอสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด และบัตรเครดิต อาทิ
- ซิตี้แบงค์ ที่ให้วงเงินอนุมัติสูงสุด 1 ล้านบาท หรือวงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน หากเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลบัตรเครดิต สามารถขอใช้บริการผ่อนชำระสินค้า อัตราดอกเบี้ยแบบ 0% นานสูงสุด 20 เดือน ยังมีบริการคิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ สูงสุด 48 เดือน อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 28% ต่อปี ผู้สมัครต้องมีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาท ขึ้นไป
- บัตรธนชาติ flash plus ให้วงเงินอนุมัติสูงสุด 1 ล้านบาท หรือวงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน สามารถเลือกพักการผ่อนชำระได้ 1 ปี ไม่มีค่าธรรมเนียมกรณีใช้บัตรกดเงินสดจากตู้ ATM และสามารถใช้บัตรผ่อนชำระสินค้า บริการในช่วงโปรโมชั่นได้ อัตราดอกเบี้ย 0% อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 28% ต่อปี รายได้ต่อเดือนขั้นต่ำของผู้สมัครอยู่ที่ 20,000 บาท
เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สินเชื่อส่วนบุคคล
แก้ไขเมื่อ 27/03/2020 | เผยแพร่เมื่อ 01/09/2019
โดย Apinya Saeueng
บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ