Lending Club หรือ เลนดิ้งคลับ เป็นบริษัทฟินเทคที่ให้บริการเงินกู้แบบ Peer To Peer Lending (P2P) สายเลือดสหรัฐอเมริกาที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอันดับหนึ่งและทำรายได้มหาศาลให้กับตลาดเงินกู้สหรัฐในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รีวิว Lending Club นี้จะพาคุณไปเจาะลึกประวัติความเป็นมา ข้อดีข้อเสีย และสิ่งที่คุณไม่ควรพลาดเกี่ยวกับเคล็ดลับในการประสบความสำเร็จของบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้
เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2007 Lending Club ถือได้ว่าเป็นบริษัทฟินเทคที่บุกเบิกมากับรูปแบบธุรกรรมการกู้ยืมเงินออนไลน์ที่เรารู้จักกันในชื่อ Peer To Peer Lending หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า P2P ซึ่งเป็นวิธีการระดมเงินทุนจากนายทุนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนทั่วไปหรือนักลงทุนสถาบันเพื่อปล่อยให้บุคคลทั่วไปหรือผู้ประกอบการธุรกิจกู้ยืมได้โดยไม่ผ่านตัวกลางใดๆ การให้กู้เงินในรูปแบบนี้อาศัยเพียงแค่แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อผู้ปล่อยกู้และผู้กู้เข้าด้วยกัน ระบบจะทำการประเมินความน่าเชื่อถือของผู้กู้ จากนั้นผู้ปล่อยกู้สามารถคัดเลือกและปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ได้โดยอัตราดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดไว้ ซึ่งรายได้ของ Lending Club จะมาจากค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมแต่ละครั้งนั่นเอง
สำหรับผู้กู้นั้น เริ่มต้นจากการสมัครขอสินเชื่อผ่านเว็บไซต์พร้อมเลือกจำนวนเงินที่ต้องการ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินเครดิตและดอกเบี้ยที่เป็นไปตามเงื่อนไขของบริษัท สินเชื่อจะถูกนำไปเสนอแก่ผู้ปล่อยกู้พร้อมยืนยันตัวตนเพิ่มเติมจากทางบริษัท เมื่อการยืนยันเสร็จสิ้นและเงินทุนผู้ปล่อยกู้ถึงตามจำนวนที่ผู้กู้ต้องการ บริษัทจะทำการสรุปสัญญาและโอนเงินให้กับผู้กู้ จากนั้นผู้กู้ก็ทำการผ่อนชำระตามเงื่อนไขที่กำหนด ในส่วนของผู้ลงทุนหรือผู้ปล่อยกู้นั้น สามารถสมัครปล่อยสินเชื่อได้ผ่านเว็บไซต์เช่นกัน โดยสามารถเลือกลงทุนแบบไม่เต็มจำนวนได้ และเมื่อผู้กู้ได้รับการยืนยันตัวตนและอนุมัติสินเชื่อแล้ว เงินลงทุนจะถูกโอนไปให้ผู้กู้ โดยจำนวนเงินกู้ที่อนุมัตินั้นมักเป็นจำนวนไม่เกิน 40,000 เหรียญสหรัฐ มีระยะการผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี
แน่นอนว่ามี รีวิว Lending Club จำนวนไม่น้อยได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อดีของธุรกิจประเภท Peer To Peer Lending หรือ P2P ไม่ว่าจะกับผู้ปล่อยกู้ก็ดีหรือผู้กู้ดี การลงทุนรูปแบบนี้ถือได้ว่า คุ้มมากกว่าเสี่ยง สำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ปล่อยกู้ดูได้จากบัญชีลงทุนที่มีอายุเกิน 1 ปีครึ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 9% ต่อปี อีกทั้งยังเสถียรกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นที่ไม่เคยทำให้ขาดทุนและได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ ทางผู้กู้เองก็ไม่น้อยหน้า ได้รับสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าสถาบันการเงินทั่วไป สมัครและอนุมัติง่าย แถมยังไม่มีค่าปรับในการชำระสินเชื่อก่อนกำหนด
ในปัจจุบันมีรีวิว Lending Club อยู่เป็นจำนวนมากที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินการธุรกิจแบบ Peer To Peer Lending โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ Lending Club ให้ความสนใจกับการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากอัตราการลดลงของหนี้เสีย ซึ่งเมื่อเทียบปี 2006 – 2007 ที่มีหนี้เสียอยู่ราวๆ 24% กับปัจจุบันที่เหลือราว 4% นั้น ถือได้ว่ากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงนั้นประสบความสำเร็จและเรียกความสนใจจากนักลงทุนได้อย่างเป็นมากเลยทีเดียว
แม้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม แต่ก็ประสบปัญหาด้วยเช่นเดียวกัน ในช่วงปี 2016 Lending Club มีปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องจากนักลงทุนหรือผู้ปล่อยกู้ จนต้องปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนมีแรงจูงใจในการปล่อยกู้ แต่ก็มิได้นำพาแต่อย่างใด นอกจากปัญหาภายนอกแล้ว ก็ยังมีปัญหาภายในด้วยเช่นกัน เมื่อผู้ก่อตั้งแต่และ CEO มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจที่ Lending Club เข้าไปร่วมลงทุน จนทำให้ถูกบั่นทอนความเชื่อมั่นและถูกปลดออกจากตำแหน่งหลังจากนั้นไม่นาน CEO คนใหม่ก็ยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นกลับมาได้แม้จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแล้วก็ตาม
จากประเด็นที่รีวิว Lending Club ถกเถียงกันอยู่นั้น เราจะเห็นได้ว่า หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจรูปแบบนี้คือ ความโปร่งใสและการกระจายความเสี่ยงให้ได้มากที่สุดในตลาดเงินกู้เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับนักลงทุน หาก Lending Club สามารถเกณฑ์ความเชื่อใจจากนักลงทุนกลับมาได้ แนวโน้มการเติบโตในตลาดเงินกู้อาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นโจทย์ที่ยากมาก เพราะการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนเปรียบได้กับการสร้าง Brand Awareness เมื่อก่อตั้งบริษัทใหม่ๆ ซึ่งการสร้างฐานลูกค้าจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนการทำธุรกิจที่สำคัญและยากที่สุดเลยก็ว่าได้
ในมุมมองความคิดของผู้เขียนนั้น Lending Club คือที่สุดแห่งตลาดเงินกู้ออนไลน์ที่ให้กำไรมากกว่าขาดทุน ผู้กู้สามารถกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงและผู้ปล่อยกู้สามารถลงทุนโดยได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ถือเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง เมื่อผู้กู้ที่มีเครดิตดีจำนวนมากสามารถนำสินเชื่อส่วนนี้ไปปลดหนี้ส่วนที่เหลือ ซึ่งจะช่วยให้อัตราหนี้เสียในประเทศลดลงและส่งผลให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น Peer To Peer Lending จึงถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมเงินกู้ที่ควรส่งเสริมมากที่สุด www.lendingclub.com
บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับö peer to peer lending
แก้ไขเมื่อ 26/08/2020 | เผยแพร่เมื่อ 08/02/2019
โดย Apinya Saeueng