การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือ พรบ.รถยนต์ เป็นกฏหมายที่ออกมาคุ้มครองผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายจากรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ใช้รถยนต์บนท้องถนน ผู้ขับขี่ ผู้โดยสารหรือแม้แต่ผู้ที่เดินอยู่บนท้องถนนก็ตาม ก็จะได้รับความคุ้มครองทาง พรบ ทั้งสิ้น กฏหมายจึงออกมาบังคับให้เจ้าของรถทุกคันและทุกประเภทต้องทำการจดทะเบียนกับทางกรมการขนส่งทางบกโดยต้องมีประกันภัยภาคบังคับรวมอยู่ด้วย ผู้ใดที่ไม่ทำ พรบ รถยนต์จะถือว่ามีความผิดโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือผู้ใดได้ทำประกันแล้วแต่ไม่ติดเครื่องหมายไว้ที่รถยนต์ให้ชัดเจนจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และประกัน พรบ นี้จะคุ้มครองเฉพาะตัวบุคคลที่ประสบภัยเท่านั้นไม่ได้รวมไปถึงการคุ้มครองในส่วนของรถยนต์
สาเหตุหลักที่กฏหมายต้องบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องทำ พรบ
ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พรบ กับความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ ค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด และบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ประสบภัยหรือทายาทภายใน 7 วันนับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอโดยมีจำนวนเงินดังต่อไปนี้
ในส่วนที่เกินจากความเสียหายเบื้องต้น ( ฝ่ายที่ถูกเท่านั้นจึงจะได้รับ)
การยื่นเอกสารขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พรบ
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย ผู้ประสบภัยหรือทายาทต้องยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น โดยยื่นคำร้องต่อบริษัทประกันภัยหรือบริษัทกลางคุ้มครอง
ผู้ประสบภัยจากรถยนต์หรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยกรณีไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหาย จากบริษัทประกันภัยได้ พร้อมหลักฐาน ดังนี้
พรบ รถยนต์มีประโยชน์มากในทางปฏิบัติ
เพราะอย่างน้อยก็ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ประสบภัยทางรถยนต์โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ไม่มากนัก อย่างน้อยก็ยังได้อุ่นใจว่าจะได้รับการรักษาพยาบาลเบื้องอย่างแน่นอน
(4.12.2560)