รถยนต์ เป็นยานพาหนะที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน โดยเฉลี่ยแล้ว อย่างน้อยจะมีการใช้งานต่อเจ้าของหนึ่งมือ ไม่ต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งนอกจากการบำรุงรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอแล้ว การทำประกันภัยรถยนต์ ยังเป็นอีกหนึ่งภาระที่เจ้าของรถจะต้องให้ความสนใจดูแล และรับผิดชอบ
นอกจากผู้เป็นเจ้าของรถยนต์จะต้องทำประกันภัยรถยนต์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยแล้ว การจ่ายเบี้ยประกันเสริม ในภาคของการทำประกันแบบสมัครใจ ยังช่วยให้ค่าใช้จ่ายเนื่องจากอุบัติเหตุ ได้รับการคุ้มครอง ซึ่งถือเป็นประโยชน์ และเหตุผลที่เจ้าของรถหลายราย เลือกทำประกันรถยนต์ประเภทต่างๆ เพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม ประกันรถยนต์นั้น เป็นประกันภัยที่มีอายุสัญญารายปี ดังนั้นเมื่อหมดสัญญา เจ้าของรถจะมีสิทธิ์ที่จะต่อ ประกัน รถยนต์ หรือไม่ต่อกรมธรรม์กับบริษัทรับทำประกันรายเดิมก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ โดยในการต่อประกันรถยนต์แต่ละครั้ง ก็จะมีรูปแบบให้เลือก ทั้งในแบบที่เป็นกรมธรรม์ชนิดแยกกับปีก่อนโดยสิ้นเชิง หรือในบางบริษัทรับทำประกัน จะมีแพคเกจและโปรโมชั่นให้เลือก สำหรับผู้ที่ต้องการต่อประกันรถยนต์ฉบับเดิม โดยการมอบสิทธิประโยชน์พิเศษให้ เช่น การจ่ายเบี้ยประกันต่อปีในราคาถูกลง หรือ การได้รับวงเงินประกันในอัตราที่สูงกว่าปกติ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดำเนินการของแต่ละบริษัท
เจ้าของรถจะใช้ประสบการณ์จากการทำประกันรถยนต์ และการเคลมเมื่อปีก่อนหน้านี้เป็นหลัก ซึ่งสามารถจำแนกออกได้ตามตัวแปร และกรณีตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
ในการต่อประกันรถยนต์แต่ละครั้ง หากจะเปรียบเทียบแล้ว ก็คล้ายกับการตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ใหม่อีกหนึ่งครั้ง เพราะ ณ เวลานั้นๆ บริษัทรับทำประกัน ย่อมมีเงื่อนไข และราคาค่าเบี้ยประกันที่เปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อนอย่างแน่นอน ทำให้เจ้าของรถต้องทำการศึกษารายละเอียดอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ บริษัทประกันหลายราย ต่างมีการรับตัวแทนจำหน่ายประกัน หรือที่เรียกว่า โบร๊กเกอร์ประกันภัย ที่จะเป็นอีกช่องทางในการผลักดันโปรโมชั่น และประชาสัมพันธ์ให้ประกันนั้นๆ เป็นที่ต้องการมากขึ้น เช่น การมอบบริการเสริม, เสนอบริการผ่อนชำระ, ให้ส่วนลดค่าเบี้ย, มอบของแถม ฯลฯ
เลือกซื้อความเสี่ยงของการใช้รถ และถนนของคุณ ด้วยการต่อประกันภัยรถยนต์ ในแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานของคุณมากที่สุด เพื่อให้เบี้ยประกันในแต่ละปีมีคุ้มค่า และควรศึกษารายละเอียดในการต่อประกันรถยนต์ด้วยความละเอียดถี่ถ้วน เพื่อเป็นการป้องกันความเข้าใจผิดในภายหลัง ทางที่ดี ควรสอบถามข้อสงสัยกับตัวแทนขายประกันภัย ให้เกิดความชัดเจนก่อนตัดสินใจต่อกรมธรรม์
(16.1.2561)