สินเชื่อส่วนบุคคล คืออะไร การขอสินเชื่อส่วนบุคคลก็คือการขอกู้เงินกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ได้ทำการจดทะเบียนอย่างถูกต้องกับหน่วยงานที่ให้การรับรองจากภาครัฐบาล โดยที่มีการกำหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจนและยุติธรรม ทั้งในฝ่ายของผู้ให้สินเชื่อ ผู้ขออนุมัติสินเชื่อ และรวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย หรืออีกนัยหนึ่ง สินเชื่อส่วนบุคคล คือการขอกู้เงิน เพื่อนำมาใช้จ่ายกับเหตุจำเป็นฉุกเฉิน โดยที่สถาบันการเงินและธนาคาร จะจัดให้สินเชื่อบุคคลอยู่ในหมวดหมู่ สินเชื่ออเนกประสงค์ ที่ไม่ได้ระบุประเภทการใช้สินเชื่ออย่างชัดเจน หากแต่สามารถนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ เช่นเดียวกันกับ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ ฯลฯ ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ขอสินเชื่อได้มีสิทธิ และความสะดวกในการขอสินเชื่อมากขึ้น อนึ่ง การขอสินเชื่อส่วนบุคคล ไม่จำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน ผู้มีสิทธิขอสินเชื่อ จะเป็นพนักงานบริษัท หรือมีธุรกิจเป็นของตัวเองก็ได้ ซึ่งหากเป็นพนักงานประจำ จะต้องมีอายุงาน 4 เดือนขึ้นไป สินเชื่อบุคคลจะจำกัดวงเงินการให้สินเชื่อสูงสุดอยู่ที่ 1,000,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 3 - 5 เท่าของรายได้แต่ละเดือน หมายถึง ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท สามารถขอสินเชื่อสูงสุดได้ไม่เกิน 5 เท่า ของเงินเดือน และ ผู้ที่มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท จะขอสินเชื่อได้ไม่เกิน 3 เท่าของเงินเดือน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดหนี้เสียนั่นเอง
การขอสินเชื่อส่วนบุคคล นั้น ผู้มีสิทธิขอสามารถเป็นได้ทั้งบุคคลทั่วไป และผู้ที่ประกอบธุรกิจ โดยจะต้องมีคุณสมบัตร และมีเอกสารประกอบการสมัครที่สำคัญดังนี้
สินเชื่อส่วนบุคคล |
คุณสมบัติ |
เอกสารประกอบ |
บุคคลทั่วไป |
|
|
ผู้ประกอบธุรกิจ |
|
|
เป็นคำถามที่ตอบยากมาก สำหรับการขอสินเชื่อส่วนบุคคล ธนาคารไหนดีที่สุด อันเนื่องมาจากว่า ทุกๆ ธนาคารที่ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น ล้วนแล้วแต่ต้องกำหนดเงื่อนไขให้เป็นไปตามการกำหนดที่มาจากธนาคารส่วนกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยที่รายได้เริ่มต้นขอผู้ขอสินเชื่อเอง เช่น บางธนาคารอาจจะกำหนดผู้มีสิทธิขอสินเชื่อจะต้องมีรายได้เริ่มต้นที่ 15,000 บาท หรือบางธนาคาร อาจจะกำหนดผู้มีรายได้เริ่มต้นที่ 20,000 บาท จึงจะมีสิทธิในการขอสินเชื่อได้ ทั้งๆ ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยเอง ได้กำหนดอัตรารายได้เริ่มต้นสำหรับผู้มีสิทธิขอสินเชื่อส่วนบุคคลให้อยู่ที่ 10,000 บาท เท่านั้นเอง ทั้งนี้ ผู้เขียนเข้าใจว่า แต่ละธนาคารก็สามารถกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างสำหรับธนาคารของตนได้ แต่ต้องไม่ผิดไปจากการกำหนดเงื่อนไขโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ฉะนั้น หากจะถามว่า ขอสินเชื่อส่วนบุคคล ธนาคารไหนดีที่สุด ผู้เขียนอยากจะขอตอบว่า ให้เลือกธนาคารที่ท่านมีบัญชีเงินฝากที่มีการโอนเงินเดือนเข้าเป็นประจำอยู่แล้ว เนื่องจากธนาคารนั้นๆ จะมีข้อมูลของท่านอยู่ในสาระบบลูกค้า และยังมีข้อมูลของบริษัทของท่าน เนื่องจากใช้บริการจ่ายเงินเดือนผ่านธนาคารอยู่แล้ว การดำเนินการขออนุมัติในส่วนของการขอสินเชื่อส่วนบุคคลก็จะได้รวดเร็วกว่า การไปติดต่อต่างธนาคาร ที่ท่านไม่มีบัญชีเงินฝากอยู่เลย นั่นเอง
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่ออะไร จากธนาคารไหน สถาบันใด เมื่อได้รับอนุมัติสินเชื่อมาแล้ว ท่านมีหน้าที่ที่จะต้องชำระคืนเงินสินเชื่อนั้นพร้อมกับการชำระดอกเบี้ย ตามอัตราที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนดไว้ โดยที่ในปัจจุบันนี้ อัตราการคิดดอกเบี้ย อยู่ที่ประมาณ 18% - 28% ต่อปี ซึ่งหากท่านไม่ชำระเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตามกำหนด ภาระหนี้สินก็จะเพิ่มสูงขึ้น และอาจจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับท่านในอนาคตก็เป็นได้
สินเชื่อส่วนบุคคลแบบ สินเชื่อเงินสด หรือเงินก้อน
สินเชื่อเงินสด หรือเงินก้อนนี้ จัดเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลรูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะการขออนุมัติสินเชื่อก้อนใหญ่ ก้อนเดียว (วงเงินสูงสุด 5 เท่าของเงินเดือน หรือสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท) โดยที่ผู้ขอสินเชื่อจะต้องชำระคืนเป็นงวดๆ พร้อมอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเป็นผู้กำหนดไว้ เช่น ท่านมีรายได้ต่อเดือน 30,000 บาท จำเป็นต้องใช้เงินก้อน 80,000 บาท จึงขอกู้เงินเพียง 80,000 บาท ทั้งๆ ที่มีสิทธิกู้ได้ 150,000 บาท ( 5 เท่าของเงินเดือน) ธนาคารกำหนดไว้ให้ท่านใช้เงินคืนภายใน 1 ปี หรือ 12 เดือน เท่ากับ 12 งวด ทั้งนี้ หากท่านมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ และยอดเงินที่คำนวณไว้อาจจะสูงไปสำหรับท่าน ท่านก็สามารถขอยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ออกไปได้อีก เป็น 24 งวด หรือ 2 ปี อนึ่ง แม้เงินต้นจะลดลง แต่ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มระยะเวลาออกไป
สินเชื่อส่วนบุคคลแบบ บัตรกดเงินสด
บัตรกดเงินสด นับว่าเป็น สินเชื่อบุคคลในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่แตกต่างไปจากบัตรเครดิต ตรงที่ท่านจะใช้ในการกดเงินสดออกมาจากตู้ ATM เท่านั้น ส่วนใหญ่แล้ว ธนาคารจะให้วงเงินการกดเงินสดอยู่ที่ประมาณ 2-5 เท่า ของเงินเดือน หรือรายได้ต่อเดือน ทั้งนี้ หากท่านมีบัตรกดเงินสดไว้ในครอบครอง แต่ยังไม่มีการกดเงินสดมาใช้ ท่านก็ไม่ได้อยู่ในภาวะที่มีหนี้สินที่ต้องชำระ แต่เมื่อท่านกดเงินสดออกมาใช้เมื่อใด การคำนวณดอกเบี้ยจะถูกคำนวณตั้งแต่วันที่ท่านกดเงินมาใช้ จนกว่าท่านจะนำเงินมาชำระหนี้ได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่แล้วบัตรกดเงินสดมักจะไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร อย่างไรก็ดี ท่านควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดเงื่อนไขกับธนาคารที่ท่านกำลังจะสมัครใช้บริการบัตรกดเงินสดให้ละเอียดรอบคอบเสียก่อน
หากเปรียบเทียบกันระหว่าง การขอสินเชื่อส่วนบุคคลแบบเงินก้อน กับ สินเชื่อส่วนบุคคลบัตรกดเงินสด แล้ว การมีบัตรกดเงินสดไว้ในครอบครอบน่าจะสะดวก และเหมาะสมกับผู้ที่มีวินัยในการใช้เงินมากกว่า เนื่องจากเมื่อมีบัตรกดเงินสดแล้ว ท่านจะต้องระวังไม่ให้กดใช้เงินสดมากเกินความสามารถในการชำระหนี้ในรอบบิลแต่ละครั้ง อันเนื่องมาจากว่า หากท่านไม่สามารถชะระหนี้ได้ตามกำหนด ดอกเบี้ยก็จะพอกพูนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อดีก็คือ ท่านสามารถกดเงินสดออกมาใช้เท่าที่จำเป็น สุดท้ายการจะขอสินเชื่อเงินสด แบบเงินก้อน หรือแบบสมัครบัตรกดเงินสดไว้ ก็ขึ้นอยู่ความจำเป็นของแต่ละท่านนั่นเอง
สินเชื่อส่วนบุคคลแบบ บัตรเครดิต
บัตรเครดิต นับเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลอีกแบบหนึ่ง ที่ท่านสามารถใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าต่างๆ แทนเงินสดได้เลย โดยในการใช้เงินแต่ละครั้งหรือแต่ละรอบบิล ก็จะมีวงเงินจำกัดอยู่ที่ 2-5 เท่าของเงินเดือนเช่นเดียวกันกับบัตรกดเงินสด ข้อดีของบัตรเครดิตที่ต่างไปจากบัตรกดเงินสดก็คือ 1. ท่านไม่ต้องพกเงินสดให้ยุ่งยาก 2. แต่ละครั้งที่มีการชำระเงิน จะมีการสะสมคะแนนไว้แลกของรางวัล หรือใช้เป็นส่วนลดร้านค้าที่ร่วมรายการ 3. บัตรเครดิตสามารใช้เป็นบัตรกดเงินสดได้ด้วย ซึ่งเงินสดที่กดได้ต้องไม่เกินยอดวงเงินที่เหลือของรอบบิลนั้นๆ 4. ร้านค้าบางแห่ง ร่วมกับบัตรเครดิตบางธนาคาร ให้มีการผ่อนชำระค่าสินค้าโดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเลยสักนิดเดียว ดังที่เราคุ้นกันดี เช่น ผ่อน 6 เดือน 10 เดือน ด้วยดอกเบี้ย 0% เป็นเหตุให้หลายๆ คน ก็นิยมสมัครบัตรเครดิตกันไว้ใช้ในยามฉุกเฉินด้วย หรืออาจจะใช้แทนเงินสดกับชีวิตประจำวันก็ได้ เช่น เติมน้ำมันรถ ทานข้าว ซื้อของเข้าบ้าน โดยผู้ถือบัตรเครดิต ก็ควรจะมีวินัยในการใช้บัตรเช่นกัน และความจะจดบันทึกไว้ ว่าใช้อะไรไปบ้าง เพื่อไม่ให้การใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่จะใช้เงินคืนในแต่ละรอบบิลได้ เพราะเมื่อท่านไม่มีเงินเพียงพอที่จะเคลียบัตรในแต่ละรอบบิล ธนาคารเจ้าของบัตรก็จะทำการคิดดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถนำเงินมาชำระหนี้ได้หมด
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทใด แบบใด ผู้ขอสินเชื่อควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขของสินเชื่อแต่ละประเภทให้ละเอียด และจงมีวินัยในการใช้จ่าย รวมถึงการชำระหนี้ที่ต้องตรงเวลาด้วย
บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สินเชื่อส่วนบุคคล
แก้ไขเมื่อ 26/08/2020 | เผยแพร่เมื่อ 21/12/2018
โดย Apinya Saeueng