การต่อทะเบียนรถยนต์

การต่อทะเบียนรถยนต์

การมีรถยนต์สักคันไว้ในครอบครองนั้น นอกจากเราจะต้องคอยดูแลรักษา ผ่อนจ่ายรายเดือน (กรณียังติดไฟแนนซ์อยู่) และต้องคอยต่อประกันภัยแล้ว เรายังต้องทำการต่อทะเบียนรถทุกปีด้วย แล้วการต่อทะเบียนรถนี่เค้าทำกันยังไง ยุ่งยากไหม ต้องใช้อะไรบ้าง แล้วไปต่อทะเบียนได้ที่ไหนบ้าง ลองมาดูขั้นตอนการต่อทะเบียนแบบคร่าวๆ กัน ดังนี้

  1. เตรียมเอกสาร
  2. คำนวณเงินที่ต้องชำระ
  3. ตรวจสภาพรถ (ตรอ.) กรณีรถมีอายุเกิน 7 ปี
  4. เลือกช่องทางการต่อทะเบียน

 

ข้อควรทราบก่อนการต่อทะเบียนรถ

“การต่อทะเบียนรถยนต์” หรือ “การต่อภาษีรถยนต์” เป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคนต้องทำการต่อทะเบียนทุกปี โดยสามารถต่อก่อนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน แต่ถ้าลืม หรือไปต่อล่าช้า สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ ..

รถไม่มี พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ใช้รถไม่จดทะเบียนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ใช้รถที่ไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษีมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

 

 

ขั้นตอนการต่อทะเบียนรถยนต์

ขั้นตอนที่ 1 เอกสารที่ต้องเตรียมก่อน เพื่อใช้ในการต่อทะเบียนรถยนต์

  1. เสาเนาสมุดทะเบียนรถ
  2. หลักฐานการทำ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
  3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป) หรือ ตรอ. สามารถตรวจสภาพรถได้ตามอู่ทั่วไปที่มีป้าย ตรอ. ติดอยู่

 

 

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมค่าใช้จ่ายในการต่อทะเบียนรถ

อัตราการเสียภาษีรถขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ประเภทรถ รุ่นรถ ขนาดของเครื่องยนต์ (ซีซี) น้ำหนักของรถ และอายุของรถ ซึ่งสามารถแยกการคำนวณออกไปตามประเภทของป้ายทะเบียนรถยนต์

1. รถป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือดำ คือรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) รถ (50 สตางค์ ถึง หนึ่งบาท 50 สตางค์ ต่อ 1 CC) ส่วนรถที่อายุการใช้งานเกิน 6 ปี ลดให้ 10% ขึ้นไป

การต่อทะเบียนรถยนต์

 

2. รถป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือเขียว คือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับ น้ำหนักรถ ดังนี้ 

 

น้ำหนักรถ / กิโลกรัม

อัตราภาษี (บาท)

501 – 750

450

751-1000

600

1001-1250

750

1251-1500

900

1501-1750

1,050

1751-2000

1,350

2001-2500

1,650

 

3. รถป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือน้ำเงิน คือรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับ น้ำหนักรถดังนี้ 

 

น้ำหนักรถ / กิโลกรัม

อัตราภาษี (บาท)

ไม่เกิน 1800

1,300

1801 ขึ้นไป

1,600

 

 

 

ขั้นตอนที่ 3 สำรวจว่ารถคุณอยู่ในกลุ่มต้องตรวจสภาพรถหรือไม่

ประเภทรถที่ต้องไปตรวจสภาพรถ ก่อนมาดำเนินการต่อทะเบียน

  1. รถยนต์ที่มีการใช้งานเกิน 7 ปีขึ้นไป ท่านสามารถนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี
  2. ราคาค่าตรวจสภาพรถ

รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท

รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท

 ข้อยกเว้น! รถต่อไปนี้ไม่สามารถตรวจสภาพรถที่ ตรอ. ได้ ต้องไปที่กรมการขนส่งเท่านั้น

  • รถที่ดัดแปลงสภาพใหม่ เช่น เปลี่ยนสีหรือตัวถังใหม่
  • รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์จางหายหรือมองไม่ชัด
  • รถที่เจ้าของได้แจ้งไม่ใช้งาน
  • รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
  • รถที่ขาดต่อทะเบียนเกิน 1 ปี

 

 

ขั้นตอนที่ 4 เลือกสถานที่ไปต่อทะเบียน 

 

ช่องทางการต่อทะเบียนรถยนต์

ข้อมูลเปรียบเทียบ

อายุรถ

เวลาทำการ

วิธีการชำระเงิน

กรมการขนส่งทางบก

ไม่จำกัด

เวลาราชการ

เฉพาะเงินสด

ที่ทำการไปรษณีย์

ไม่จำกัด

เวลาราชการ

เฉพาะเงินสด

เคาน์เตอร์เซอร์วิส

ไม่จำกัด

24 ชม.

เฉพาะเงินสด

เวปไซด์ของกรมขนส่ง

ไม่เกิน 7 ปี

24 ชม.

เงินสด และบัตรเครดิต

 

ทราบกันดังนี้แล้ว อย่าลืมไปต่อทะเบียนรถกัน 

 

 

(16.1.2561)

 

 



Siirry alkuun