ประกันกลุ่ม

ประกันกลุ่ม คืออะไร

การประกันชีวิตแบบกลุ่ม หรือประกันกลุ่ม หมายถึงการทำประกันชีวิตบุคคลหลายๆ คนภายในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวโดยพิจารณาถึงความเสี่ยงภัยของบุคคลในกลุ่มทั้งหมดด้วยอัตราเฉลี่ย ไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ หน้าที่การงาน หรือจำนวนเงินเอาประกัน ซึ่งคำนวณเป็นอัตราเบี้ยประกันเพียงอัตราเดียว เพื่อใช้กับบุคคลในกลุ่มนั้นๆ

ด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลดลง จึงมีผลทำให้เบี้ยประกันภัยต่ำกว่าการประกันชีวิตรายบุคคล 

 

ประโยชน์ของการประกันกลุ่ม 

สำหรับนายจ้าง หรือองค์กร

สำหรับลูกจ้าง

 

ลักษณะพิเศษของการประกันกลุ่ม

  1. มีกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว

การประกันชิวิตกลุ่มเป็นการประกันภัยที่มีผู้เอาประกันหลายคนในองค์กร โดยเจ้าขององค์กรเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่พนักงาน ซึ่งอาจจะช่วยจ่ายทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ดังนั้น กรมธรรม์ประกันชิวิตกลุ่มจะออกให้กับองค์กรนั้นๆ เพียงฉบับเดียว พร้อมแนบรายชื่อพนักงาน หรือสมาชิกที่ได้รับความคุ้มครองไว้เป็นหลักฐาน

  1. มีเบี้ยประกันภัยเป็นอัตราเดียวสำหรับทุกคนในกลุ่ม

เนื่องจากเป็นการประกันกลุ่ม บริษัทจะพิจารณาจากจำนวนเงินเอาประกันภัย อายุ เพศ หน้าที่การงานของบุคคลในกลุ่ม โดยจะคำนวณเฉลี่ยออกมาเป็นเบี้ยประกันภัยเพียงอัตราเดียว และจะมีการพิจารณาใหม่ทุกๆ ปีรอบกรมธรรม์

  1. ไม่มีการตรวจสุขภาพ

โดยทั่วไปการประกันกลุ่มจะไม่มีการตรวจสุขภาพ เนื่องจากจำนวนเงินเอาประกันไม่สูง และอยู่ในเกณฑ์ที่บริษัทผู้รับประกันภัยกำหนด

  1. การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย มีหลายลักษณะ เช่น เท่ากันทุกคน, แบ่งตามระดับตำแหน่ง, เป็นจำนวนเท่าของเงินเดือน, แบ่งตามระดับเงินเดือน และ แบ่งตามอายุงาน
  2. กรณีมีเงินคืนตามประสบการณ์ (Experience Refund)

ผู้ขอเอาประกันภัยสามารถทำประกันกลุ่มในลักษณะมีเงินคืนตามประสบการณ์ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัทผู้รับประกันภัย โดยอัตราเบี้ยประกันภัยจะสูงกว่าแบบทั่วไป ในกรณีที่องค์กรนั้นๆ มีประวัติการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไม่เกินกว่าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย บริษัทจะคืนเงินบางส่วนให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย หรือนำไปหักจากเบี้ยประกันภัยในปีต่อไป โดยเงื่อนไขจะต้องต่ออายุกรมธรรม์การประกันกับบริษัทผู้รับประกันภัยเดิม 

 

หลักเกณฑ์การทำประกันกลุ่ม

ประเภทของกลุ่ม : เป็นองค์กรภาครัฐหรือเอกชน และเอกชนที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทหรือห้างร้าน กลุ่มสหกรณ์ สหภาพแรงงาน (ทำให้สมาชิก) ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทขายสินค้าผ่อนส่ง หรือนิติบุคคลอื่นๆ นอกจากกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวแล้ว โรงเรียน มหาวิทยาลัย สมาคมครู สมาคมผู้ประกอบการอิสระ สโมสร ยังสามารทำประกันกลุ่มได้ด้วย

ขนาดของกลุ่ม : การทำประกันกลุ่ม โดยทั่วไป จะต้องมีจำนวนผู้เอาประกันไม่ต่ำกว่า 5 คน จึงจะสามารถทำประกันกลุ่มได้ โดยจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมความคุ้มครองนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กรณี

  1. กรณีที่องค์กรเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันฝ่ายเดียว : พนักงานต้องเข้าร่วมทำประกันชิวต 100%
  2. กรณีที่องค์กร และพนักงานร่วมกันชำระเบี้ยประกัน : พนักงานต้องเข้าร่วม 75%
  3. กรณีที่พนักงานเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันฝ่ายเดียว : พนักงานต้องเข้าร่วมทำประกันชีวิต 75% 

 

ผลประโยชน์ของการทำประกันกลุ่ม

โดยทั่วไป จะมีการกำหนดผลประโยชน์ 5 วิธี ดังนี้

  1. ผลประโยชน์เท่ากันทุกคน
  2. ผลประโยชน์กำหนดตามระดับตำแหน่งของพนักงาน เช่น ระดับผู้จัดการ จะได้รับผลประโยชน์จากความคุ้มครอง สูงกว่าพนักงานทั่วไป
  3. ผลประโยชน์กำหนดเป็นจำนวนเท่าของเงินเดือน เช่น จำนวน 24 เท่า หรือ 36 เท่าของเงินเดือน เป็นต้น
  4. ผลประโยชน์กำหนดตามระดับของเงินเดือน เช่น เงินเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ผลประโยชน์คุ้มครอง 300,000 บาท หากเงินเดือน 10,001 – 20,000 ผลประโยชน์คุ้มครองอยู่ที่ 400,000 บาท เป็นต้น
  5. ผลประโยชน์กำหนดตามอายุงานของพนักงาน เช่น อายุงานต่ำกว่า 2 ปี ผลประโยชน์คุ้มครอง 100,000 บาท, อายุงานระหว่า 2-5 ปี คุ้มครองอยู่ที่ 300,000 บาท เป็นต้น

ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับความคุ้มครองและผลประโยชน์ที่จะได้รับ ก็ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัย จะนำเสนอและทำการตกลงกับท่าน เพราะรายละเอียดต่างๆ ล้วนมีผลกับราคาค่าเบี้ยประกันทั้งสิ้น 

 

(7.12.2560)

 

 



Siirry alkuun