โลจิสติกส์

โลจิสติกส์ คือ

โลจิสติกส์ คือ

โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ คือ ระบบการจัดการการส่งสินค้า, สิ่งของ, ข้อมูล หรือทรัพยากรอื่นๆ จากจุดต้นทางไปยังจุดปลายทางตามความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงการจัดการของ ข้อมูล, การขนส่ง, การบริหารวัสดุคงคลัง, การจัดการวัตถุดิบ, การบรรจุหีบห่อ โดยมีเป้าหมายสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น โลจิสติกส์ในทางธุรกิจมีจุดหมายเพื่อส่งสินค้าถึงมือของลูกค้าตรงตามเวลาที่กำหนด และสินค้าไม่เกิดความเสียหาย ขณะที่ตัวอย่างของจุดประสงค์ของโลจิสติกส์ในทางการทหารอาจเป็นการำเลียงอาวุธและเสบียงไปยังกองทัพให้ทันเวลาและความจำเป็น

 

การจัดการโลจิสติกส์

การจัดการโลจิสติกส์นั้น อาจพูดได้ว่าคือการจัดการกระบวนการโลจิสติกส์ให้มีค่าค่าใช้จ่ายโดยต่ำที่สุด โดยทำการจัดการวางแผน จัดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งในส่วนที่มีการเคลื่อนย้าย (อย่างเช่นการส่งสินค้า) และไม่มีการเคลื่อนย้าย (อย่างเช่นการจัดการสินค้าคงคลัง) โดยในการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่จุดเริ่มจัดหาวัตถุดิบไปถึงจุดที่มีการบริโภค ประกอบด้วย กิจกรรมต่างๆ 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน

 

กิจกรรมโลจิสติกส์

กิจกรรมหลักในกระบวนการไหลของสินค้าตามแนวคิดของโลจิสติกส์ คือ กิจกรรมที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อต้นทุนและการให้บริการของสินค้ามากที่สุด ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรมด้วยกัน คือ

  1. การขนส่ง ได้แก่ การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆทั้งในและต่างประเทศ
  2. การสินค้าคงคลัง ได้แก่ การบริหารสินค้าคงคลังเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระขายสินค้าออกไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. กระบวนการสั่งซื้อ ได้แก่ การบริหารจัดการในเรื่องวัตถุดิบ จัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพและเพียงพอในเวลาที่เหมาะสม

กิจกรรมสนับสนุนตามแนวทางการจัดการโลจิสติกส์ คือกิจกรรมที่สนับสนุนให้งานหลักดำเนินไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่

  1. การจัดการด้านโกดัง
  2. การยกขนหรือการหีบห่อสินค้า
  3. การจัดซื้อจัดหา
  4. การจัดตารางผลิตภัณฑ์
  5. การจัดการด้านข้อมูล

 

 

วิศวะโลจิสติกส์

ในปัจจุบันมีการศึกษาทางด้านวิศวะโลจิสติกส์แยกออกมาเป็นสาขาหนึ่งต่างหากเนื่องจากความต้องการทางของตลาดที่สูงขึ้น โดยการศึกษาทางด้านวิศวะโลจิสติกส์นั้นรวมความรู้ทั้งทางด้านเทคนิคและบริหารเข้าด้วยกัน วิศวกรทางด้านโลจิสติกส์ที่มีหน้าที่หลักในการออกแบบ และจัดการระบบต่างๆ เช่น ระบบคลังสินค้า ระบบการผลิต ระบบการบรรจุภัณฑ์ ระบบการกระจายสินค้า รวมถึงการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ

 

องค์ประกอบหลักๆของการศึกษาทางด้านวิศวะโลจิกติกส์คือ

1.       วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่ง ในส่วนวิศวกรรมศาสตร์นี้จะมีสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ และ สาขาวิศวกรรมโยธา โดยสาขานี้จะคำนึงถึงกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือ เวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด

2.       บริหารธุรกิจ ซึ่ง สาขานี้จะมองในเรื่อง ของการขนส่งระหว่างประเทศโดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบ การวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ

3.       การจัดการสารสนเทศ ซึ่ง จะศึกษาในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น บริการ ที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทาง โลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

 

 

ธุรกิจโลจิสติกส์

ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์นับเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจการค้าและการบริการ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม ในทุกขั้นตอนนับตั้งแต่การผลิต จนกระทั่งสินค้าและบริการเหล่านั้นเดินทางถึงผู้บริโภคการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ดีจะสามารถยกระดับศักยภาพกระบวนการผลิตและการกระจายสินค้า/บริการ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งด้านเวลา ต้นทุน และคุณภาพ โดยในประเทศไทยเองก็มีบริษัทที่ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์อยู่หลายบริษัท

 

บริษัทโลจิสติกส์

ในประเทศไทยมีบริษัทที่ให้บริการการจัดการทางด้านโลจิสติกส์อยู่หลากหลาย หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจโลจิสติกส์ โดยบริษัทเหล่านี้ไม่ได้มีการผลิตสินค้าของตนเอง แต่เป็นผู้ให้บริการจัดการทางโลจิสติกส์ให้แก่บริษัทอื่นๆ  

บริษัทเหล่านี้มีขอบเขตการให้บริการแตกต่างกันไป ตัวอย่างรายชื่อของบริษัทโลจิสติกส์ในไทยแสดงดังต่อไปนี้

รายชื่อบริษัท

เบอร์ติดต่อ

1.  บริษัท ฟอลคอน โลจิสติคส์ โซลุชั่น จำกัด  

0-2726-6417

2.  หจก.ทริปเปิ้ลเซิฟ  

094-4970363

3.  บริษัท เกตเวย์ เอเซีย โลจิสติกส์ จำกัด  

090-948-1229

4.  นำเข้าดอทคอม  

02-417-8071

5.  ทีเวย์ แอร์    

083-154-0737

6.  บจก.ซุปเปอร์คาร์ทรานสปอร์ต แอนด์ โลจิสติกส์  

02-368-2009

7.  บริษัท เดลฟิน โกลบอล จำกัด  

02-002-5914

8.  เอฟเอ็ม โกลบอล โลจิสติกส์ ประเทศไทย  

02-661-2400

9.  มูลนิธิพัฒนาผู้ส่งออกไทย  

02-679-7555

10. กรุงเทพคลังสินค้าและโลจิสติกส์  

086-546-4220

11.  โรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ  

02-671-5995

12.  เอสพีจีโลจิสติกส์  

02-249-6066

13.  D&S บริษัท ดีเอ็นเอส แพค แอนด์ มูฟ อินเตอร์เนชั่นแนล

02-396-1761

14.  บริษัท ก.เกียรติชัยพัฒนาขนส่ง จำกัด  

02-902-7933

15.  บริษัท พี ซี แอล โลจิสติกส์อินเตอร์ไลน์ จำกัด  

02-906-6056

16.  บริษัท เซเว่นซีส์ เอเจนซี่ส์ จำกัด  

02-476-1576

17.  บริษัท นำชัยขนส่งทางทะเล จำกัด  

0-7622-5444

18.  บริษัท วิคเทอรี่ โลจิสติกส์ จำกัด  

02-678-9000

19.  บริษัท แพล็ททินัม โลจิสติกส์ จำกัด    

02-683-9000

20. บริษัท มิตซุย โอ.เอส.เค.ไลน์ส (ประเทศไทย) จำกัด

02-237-9011

21.  บริษัท ยูนิไทย ชิปยาร์ด แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด  

02-254-8400

22.  บริษัท เดินเรือแสงไทย 1977 จำกัด  

02-862-1485

23.  บริษัท บางกอก มารีน จำกัด    

02-752-9544

24.  บริษัท ทรานส์ โลจิสติกส์ จำกัด  

02-962-0840

25.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ทิพวรรณ ขนส่ง  

02-319-5428

26.  บริษัท พรีเมียร์ ทรานส์ เอ็กซเพรส จำกัด  

02-882-2474

27.  บริษัท นาวาอินแลนด์ทรานสปอร์ต จำกัด  

02-654-5900

28.  บริษัท รวมถาวรขนส่ง

02-674-0100

29.  บริษัท เวอร์โก้ ทรานสปอร์ต จำกัด  

02-134-7399

30. ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)

02-345-5000

31.  บริษัท พัสดุภัณฑ์ไทย จำกัด    

02-249-2383

32.  บริษัท นิ่มซี่เส็งขนส่ง 1988 จำกัด  

053-998-888

33.  บริษัท ไทย โลจิสติกส์ อัลลายแอนซ์ จำกัด  

02-134-1856

34.  บริษัท ไทยสมเด็จ โลจิสติกส์ จำกัด  

02-381-3883

35.  บริษัท ทีเอ็นที เอ็กซเพรส เวิลด์ไวด์ (ประเทศไทย)

02-257-6081

36.  บริษัท ยูพีเอส พาร์เซล ดีลิเวอร์รี่ เซอร์วิส จำกัด    

02-712-3090

37.  บริษัท ไทยมาสเตอร์ ทรานสปอร์ต อินเตอร์เนชั่นแนล

02-690-8060

38.  บริษัท ซีทีไอ โลจิสติกส์ จำกัด  

02-258-0060

39.  บริษัท ทรานส์แอร์ คาร์โก้ จำกัด  

02-650-9030

40.  บริษัท ทริพเพิล ไอ แอร์ เอ็กซ์เพรส จำกัด  

02-295-8000

41.  บริษัท โทลล์ โลจิสติคส์ (ไทยแลนด์) จำกัด  

02-769-8900

 
 
 

ข่าวโลจิสติกส์

ในแง่ของการเปิดเสรีทางการค้า ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ ถือเป็นสาขาธุรกิจ     ที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ให้ความสำคัญ โดยเป็น 1 ใน 5 สาขาบริการที่เร่งรัดเปิดเสรี         ภายใต้กรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายให้ประเทศสมาชิกต้องลด/เลิกข้อจำกัดต่อการค้าบริการโดยการอนุญาตให้นิติบุคคลสัญชาติอาเซียนถือหุ้นในธุรกิจได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ในปี 2556

 

(27.7.2560)

 

 



Siirry alkuun