มารู้จักประกันอัคคีภัย

มารู้จักประกันอัคคีภัย

ด้วยความจำเป็นในปัจจุบัน การทำประกันความเสียหายชองอาคารสถานที่เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักแนวคิดการทำประกันภัยนี้ ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว รวมทั้งเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคในสมัยปัจจุบันควรที่จะรับทราบ

แนวคิดการทำประกันความเสียหายนั้น สามารถแบ่งได้เป็น การประกันอัคคีภัย คือ การประกันภัยทรัพย์สินที่กรมธรรม์มีความคุ้มครองแบบที่เรียกว่า “ระบุภัย (Named Peril)” ซึ่งหมายถึงว่าจะคุ้มครองความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเนื่องมาจากภัยที่ตกลงกันไว้เท่านั้น  ส่วนประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินที่เอาประกันภัยซึ่งได้รับความเสียหายทางกายภาพโดยอุบัติเหตุใด ๆ ที่มิได้ระบุยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัย

โดยทั้งสองแนวคิดการทำประกันที่กล่าวไว้ข้างต้น เหมาะสมกับการทำประกับของบ้านอยู่อาศัย อาคาร ร้านค้า สำนักงาน โรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน โกดัง เป็นต้น  รวมทั้งทรัพย์สินภายในอาคาร อาทิเช่น เครื่อง เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร สต็อกสินค้า

การประกันอัคคีภัยและทรัพย์สิน สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ตามลักษณะของความเสี่ยงของผู้เอาประกัน  โดยแบ่งเป็น

  1. ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย  เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้าง โดยไม่รวมฐานราก ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ตึกแถวสำหรับอยู่อาศัย แฟลต อาคารชุด คอนโดมิเนียม รวมถึงทรัพย์สินภายใน  จากความเสียหาย จากภัยไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ยานพาหนะ ภัยจากอากาศ ภัยเนื่องจาก ภัยจากลมพายุ ภัยจากน้ำท่วม ภัยจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำหรือซึนามิ และภัยจากลูกเห็บ เป็นต้น
  2. การประกันอัคคีภัยสำหรับสถานประกอบการ เป็นการให้ความคุ้มครองอาคารและสิ่งปลูกสร้าง โดยไม่รวมฐานราก ที่ใช้เป็นสถานประกอบการ เช่น ร้านค้า โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า โกดัง โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ตลอดจนทรัพย์สินอื่นใด ที่ตกลงไว้ในกรมธรรม์  โดยการทำประกันนี้จะให้ความคุ้มครองภัยจาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊ส โดยผู้เอาประกันภัยยังสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมเพื่อรองรับความเสียหายจากภัยอื่น ๆ ได้ เช่น ภัยจากแผ่นดินไหว อุทกภัย ภัยจากลูกเห็บ ภัยการนัดหยุดงานของลูกจ้าง การจลาจลและการกระทำอันมีเจตนาร้าย ภัยต่อเครื่องจักร เป็นต้น
  3. การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน นั้นมีพัฒนาการมาจากการประกันอัคคีภัย แต่ทว่าให้ความคุ้มครองที่กว้างขวางกว่า โดยให้ความคุ้มครองความเสียหายเช่นเดียวกัน และรวมถึงความเสียหายซึ่งมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยกะทันหันจากปัจจัยภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัย ไม่ได้เจตนาหรือมุ่งหวังไว้

    ข้อตกลงคุ้มครองของการประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สินเป็นการกำหนดแบบสรรพภัย คือ กรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้ถูกแจงยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ ดังนั้นอาจเห็นได้ว่ามีการเขียนข้อยกเว้นไว้มากกว่าการประกันภัยอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าสิ่งใดจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย

มารู้จักประกันอัคคีภัย

 

โดยการคิดอัตตราตราเบี้ยประกันนั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยคือ ลักษณะการใช้งานสถานที่ ลักษณะของสิ่งปลูกสร้างและสถานที่ตั้ง ลักษณะของภัยที่จะเอา การติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง เป็นต้น

ท้ายที่สุดนี้ เงื่อนไขที่ผู้เอาประกันควรทราบเพิ่มเติม มีดังนี้ 

  1. เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ล่าช้า และผู้เอาประกันต้องส่งมอบหนังสือแจ้งรายละเอียดทรัพย์สินที่สูญเสีย เสียหายและมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินนั้น ๆ โดยละเอียด  
  2. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงใดๆ ที่จะทำให้สาระสำคัญของการประกันภัยถูกทำลายลง เช่น การเปลี่ยนประเภทธุรกิจที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ผู้เอาประกันจะต้องแจ้งให้กับบริษัทประกันภัยรับทราบ  รวมทั้งหากมีการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยโดยวิธีอื่นได ที่ไม่ใช่โดยทางพินัยกรรมหรือโดยบทบัญญัติกฎหมาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งการโอนกรรมสิทธิ์นี้ให้บริษัทประกันทราบ เพื่อให้ความคุ้มครองจะได้โอนตามไป
  3. ทรัพย์สินที่มีการเอาประกันภัยประเภทอื่นไว้แล้ว เช่นประกันภัยรถยนต์ ผู้เอาประกันภัยจะมีสิทธิ์เรียกร้องการชดเชยความเสียหายจากการประกันอัคคีภัยได้เฉพาะจำนวนเงินที่เงินที่ที่เกินจากการเรียกร้องประกันภัยอื่นที่มีอยู่ก่อน
  4. ผู้เอาประกันอัคคีภัยสามารถขยายความคุ้มครองไปถึงสถานการณ์หรือภัยต่าง ๆ ที่ได้ไม่ระบุไว้ในความคุ้มครองพื้นฐานได้ โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม

 

ข้อมูลจาก

https://www.tgia.org
http://www.oic.or.th/

 

(4.12.2560)

 

 



Siirry alkuun