กยศ. มหาลัยได้กี่บาท

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (Student Loan Fund) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "กยศ." นั้น เป็นโครงการที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน โดยการให้นักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นได้กู้ยืมสำหรับเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายจำเป็นในการครองชีพระหว่างกำลังศึกษา ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่สามารถใช้ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้เกิดความเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้นได้

ปัจจุบันการศึกษาในมหาวิทยาลัยถือได้ว่ามีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากและอาจจะมากกว่าระดับมัธยมศึกษาอยู่หลายเท่า โดยเฉพาะเด็กต่างจังหวัดที่ต้องเข้ามาเรียนในเมืองหรือในจังหวัดที่มีความเจริญมากกว่า ค่าครองชีพก็จะสูงกว่าท้องถิ่นที่ตนเองอยู่ ทำให้ค่าใช้จ่ายทั้งค่าเล่าเรียน ค่าหอพัก ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายส่วนตัวเพิ่มเป็นเท่าตัว ถ้าถามว่า กยศ. มหาลัยได้กี่บาท? ได้เท่ามัธยมไหม? คำตอบคือ ไม่แน่นอน และบางคณะอาจต้องให้เป็น 2-3 เท่าของระดับชั้นมัธยมเลยก็ว่าได้ ซึ่งทางกองทุน กยศ. เองก็ได้แบ่งจำนวนเงินที่จะให้แก่นักศึกษาในแต่ละคณะตามความเหมาะสม ได้แก่ คณะสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ โดยยังได้แบ่งออกเป็นสาขาที่ขาดแคลนหรือเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ บัญชี เศรษฐศาสตร์ สารสนเทศ นิติศาสตร์ ภาษาต่างปรเทศ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมบริการ ธุรกิจอุตสาหกรรม และธุรกิจการบินจะได้ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 86400 บาท ส่วนสาขาอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว จะได้เงินค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 76400 บาท ส่วนคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเกษตรศาสตร์ จะได้เงินค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพ รวมเป็นเงิน 96400 บาท คณะสาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ จะได้เงินค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพ รวมเป็นเงิน 116400 บาท และสุดท้าย คณะแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ คณะเหล่านี้จะได้เงินค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพ รวมทั้งสิ้น 226400 บาท ดังสรุปอย่างละเอียดไว้ในตารางต่อไปนี้

 

 

คณะ

ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา

(บาท / ราย / ปี)

 

ค่าครองชีพ

(บาท / ราย / ปี)

 

รวม

(บาท / ราย / ปี)

สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์

  1. สาขาที่ขาดแคลนหรืออยู่ในความต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ บัญชี เศรษฐศาสตร์ สารสนเทศ นิติศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมบริการ ธุรกิจอุตสาหกรรม และธุรกิจการบิน

 

  1. สาขาอื่นๆ นอกจาก ข้อ 1

60,000

26.400

86,400

 

 

50,000

 

 

26.400

 

 

76400

ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์

70,000

26.400

96400

วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

70,000

26.400

96400

เกษตรศาสตร์

70,000

26.400

96400

สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์

90,000

26.400

116400

แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์

200,000

26.400

226400

 

จะเห็นได้ว่า กยศ. หรือกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษานั้นได้แบ่งจำนวนเงินที่ให้สำหรับนักศึกษาแต่ละคณะตามความเหมาะสมอย่างแท้จริง ยิ่งคณะใดที่มีค่าใช้จ่ายสูงก็จะสามารถกู้ยืมเงินได้สูงไปด้วย ดังนั้นจากตารางข้างต้นก็จะสามารถไขข้อข้องใจในเรื่อง กยศ. มหาลัยได้กี่บาทได้

เงินค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาจะถูกโอนเข้าให้กับทางมหาวิทยาลัยโดยตรง ส่วนเงินค่าครองชีพจะโอนเข้าบัญชีของนักศึกษา ซึ่งถ้ามาคิดกันเป็นต่อเดือน กยศ. มหาลัยได้กี่บาท ก็จะตกคนละประมาณ 2,200 บาทต่อเดือน เหมือนกันทุกคณะ โดยในความเป็นจริงแล้ว บางครั้งไม่ได้ตรงเวลาทุกเดือน เพราะจะมีเรื่องของการดำเนินการที่อาจจะใช้เวลาค่อนข้างนาน จึงทำให้เงินเดือนเหล่านี้อาจล่าช้าไปในบางครั้ง แต่ก็จะไปทบเอาให้ในเดือนถัดไป และถ้าหากบางคนต้องดรอปเรียนภาคการศึกษาใดไป ทาง กยศ . ก็จะไม่นับภาคการศึกษาที่หยุดเรียนนั้น แต่จะนับต่อจากนั้น หลังจากที่กลับมาเรียนใหม่อีกครั้ง ซึ่งเงื่อนไขนี้ถือได้ว่า เอื้อประโยชน์ให้กับนักศึกษาเป็นอย่างมาก

 

แชร์ไปยัง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เงินกู้ กยศ. | กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 

แก้ไขเมื่อ 21/10/2020 | เผยแพร่เมื่อ 09/05/2017

Apinya โดย Apinya Saeueng

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ 



Siirry alkuun