สินเชื่อ ข้าราชการ

สินเชื่อข้าราชการ : เพื่อข้าราชการไทย

"สินเชื่อ" นั้นมีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าสถาบันการเงินที่ให้กู้สินเชื่อนั้นๆ ออกแบบมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับคนกลุ่มใด ซึ่งมีสินเชื่อประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบมาสำหรับข้าราชการโดยเฉพาะ คือ สินเชื่อข้าราชการ ที่เอื้อประโยชน์แก่ข้าราชการประเทศไทยซึ่งแสดงให้ถึงความจริงจัง นโยบาย และความเอาใจใส่ของสถาบันทางการเงินเหล่านั้นที่ต้องการช่วยเหลือข้าราชการผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นบุคลากรทำงานหลักของรัฐบาล องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศไทย

 

เนื่องจากเป็นที่เข้าใจกันดีในสังคมไทยว่าอาชีพข้าราชการนั้นถือเป็นอาชีพที่ดีในระยะยาว แต่ในระยะสั้นมีข้อจำกัด ซึ่งหมายถึงรายได้ต่อเดือนของข้าราชการที่ไม่สูงมากนักหากเทียบกับของพนักงานบริษัทเอกชน ดังนั้นสินเชื่อข้าราชการจึงได้ว่าเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเจ้าพนักงานราชการในการเสริมสินคล่องทางการเงิน

สินเชื่ออาจจะดูเป็นภาระที่ต้องรับผิดชอบในระยะเวลาหนึ่ง คงไม่มีใครอยากมีหนี้สิน แต่การดำรงชีวิตนั้นต้องยอมรับว่า เงินถือเป็นความจำเป็นในลำดับต้นๆ ที่ในบางครั้ง เหตุผลในการกู้สินเชื่อก็ฟังดูมีเหตุผล อาทิ เช่น ต้องการที่อยู่อาศัยสำหรับตัวเองและครอบครัว, ต้องการซื้อรถเพื่อใช้ในครอบครัว, ใช้จ่ายค่าเทอมของลูก, ใช้จ่ายในเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น ซึ่งด้วยความเสถียรของรายได้ข้าราชการประจำที่และสม่ำเสมอ หากมีการวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ การขอสินเชื่อนั้นย่อมทำได้และก่อให้เกิดประโยชน์

 

ปัจจุบันมีสถาบันการเงินในประเทศไทยหลายแห่งที่ให้บริการสินเชื่อข้าราชการ

โดยมีชื่อเรียกสินเชื่อแตกต่างกัน ดังนี้

  1. กลุ่ม
  2. ธนาคารออมสิน: สินเชื่อสวัสดิการ
  3. ธนาคารกรุงเทพ: สินเชื่อเพื่อข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้รับบำนาญ
  4. กลุ่ม
  5. ธนาคารกสิกรไทย: สินเชื่อบุคคลเพื่อข้าราชการบำนาญ
  6. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์: สินเชื่อสวัสดิการบุคลากรภาครัฐและพนักงานองค์กร
  7. ธนาคารอาคารสงเคราะห์: เงินกู้โครงการสวัสดิการไม่มีเงินฝาก
  8. ธนาคารธนชาต: โครงการเพื่อสนับสนุนสวัสดิการของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  9. กลุ่มไทย
  10. ธนาคารซีเอ็มบีไทย: สินเชื่อบุคคลเอ็กซ์ตร้าแคช

 

สำหรับคุณสมบัติเบื้องต้นที่ใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อ คือ ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพข้าราชการ สัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย บางสถาบันการเงินอาจกำหนดระยะเวลาในการเข้ารับราชการและอาจจะต้องมีหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือตัวบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับสัญญา ดังนั้นควรศึกษารายละเอียดก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน

 ในส่วนของวงเงินที่นำมาอนุมัติสินเชื่อสำหรับข้าราชการนี้ ส่วนใหญ่จะสูงถึง 100% ของหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ผู้ขอสินเชื่อได้ระบุไว้ รวมทั้งพิจารณาความสามารถในการชำระเงินคืนก่อนที่ผู้ขอสินเชื่อจะกำหนดวงเงินที่กู้ยืมเงินได้

โดยส่วนใหญ่ของระยะเวลาผ่อนชำระของสินเชื่อสำหรับข้าราชการนั้น มักจะกำหนดเวลาการชำระเป็นแบบระยะยาวที่ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 30 ปี ทั้งนี้ ระยะเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงิน

นับได้ว่าสถาบันทางการเงินในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับทุกชนชั้น รวมทั้งข้าราชการด้วยซึ่งด้วยสินเชื่อทางการเงินที่สามารถตอบสนองให้เข้ากับรายรับประจำแบบข้าราชการจะทำให้ข้าราชการสามารถขอสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมสภาพคล่องทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิผล

 

สินเชื่อส่วนบุคคลดอกเบี้ยต่ำ

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เงินกู้สินเชื่อข้าราชการ | เงินกู้ข้าราชการ | ขอสินเชื่อข้าราชการ

แก้ไขเมื่อ 29/08/2020 | เผยแพร่เมื่อ 26/12/2017

Apinya โดย Apinya Saeueng

 

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ 



Siirry alkuun